เรื่องอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่คาดฝันและไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว อย่าตื่นตระหนกให้ตั้งสติ เพราะเรามีประกันภัยรถยนต์อยู่แล้ว ก่อนอื่นเลยตรวจสอบตัวเองและผู้โดยสารร่วมว่ามีใครได้รับบาดเจ็บหรือไม่

หากไม่มีอันดับแรกให้คว้าเล่มประกันเพื่อโทรแจ้งประกันว่าเราได้รับอุบัติเหตุ ที่ไหน มีคู่กรณีหรือไม่ แล้วเชิญเจ้าหน้าที่ประกันมาเจรจา เราต้องตรวจสอบอะไรบ้างในใบประกันของเรา

ข้อควรรู้สำหรับผู้ทำประกันรถยนต์

ซ่อมอู่ : การซ่อมในอู่ในเครือบริษัทประกัน หรือนอกเหนือบริษัทประกันก็ได้

ซ่อมห้าง : การซ่อมและเคลมรถยนต์ จากศูนย์บริการยี่ห้อรถที่เราขับ

เช็คเอกสารเตรียมตัวในการส่งซ่อม

  1. ตรวจสอบประกันภัยที่มี บางคนไม่มีโอกาสได้ใช้งานประกันเพราะไม่เคยเกิดอุบัติเลย จึงทำให้หลงลืมไปบ้างว่าได้ทำประกันกับบริษัทอะไรและทำชั้นไหนบ้าง รวมถึงบางคนก็ไม่แน่ใจว่าประกันที่ตัวเองได้ตกลงทำนั้นเป็นการเคลมประกันแบบซ่อมห้างหรือซ่อมอู่
  2. ตรวจสอบว่าเราจำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกหรือค่าสินไหมทดแทนส่วนแรกหรือไม่  ซึ่งจะระบุไว้ในกรมธรรม์ของเราตามแต่ที่เราได้ตกลงในเงื่อนไขการก่อนทำประกันภัยรถยนต์ 

ค่าเสียหายส่วนแรก มี 2 แบบคือ

ค่า Excess หรือ Deductible 2 แบบนี้มีความแตกต่าง

ค่า Excess เป็นค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่ผู้ทำประกันต้องจ่ายเงินเมื่อแจ้งเคลมในกรณีที่ไม่มีคู่กรณี

ค่า Deductible เป็นค่าใช้จ่ายส่วนแรกเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีและเราเป็นฝ่ายผิด โดยอาจต้องมีค่าใช้จ่าย 1,000-5,000 บาท ขึ้นอยู่กับการตกลงก่อนการทำประกัน ในส่วนนี้จำเป็นต้องสอบถามกับบริษัทประกันให้ดีก่อนตัดสินใจทำ เพื่อรับทราบและไม่ให้เกิดข้อโต้เถียงก่อนการทำประกัน

ค่าเสียหายส่วนแรก

การเคลมสด

เคลมสด คือ การโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ประกันให้ออกมาในขณะนั้นเลย เพื่อให้พิจารณาอุบัติเหตุ เก็บหลักฐาน นำพิสูจน์และแจ้งซ่อม  โดยการเคลมสดก็จะแยกออกไปอีก 2 ประเภทนั่นก็คือ

  1. แบบมีคู่กรณี ในส่วนนี้จะเป็นอุบัติเหตุที่รถชนรถ ซึ่งเจ้าหน้าที่ประกันจะเป็นผู้พิจารณาว่าใครเป็นฝ่ายผิด โดยเมื่อพิจารณาแล้วว่าใครผิดผู้นั้นจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) (ตามแต่จะตกลง) 
  2. แบบไม่มีคู่กรณี ในส่วนนี้จะเป็นอุบัติเหตุที่รถเราไปชนกับวัตถุอื่นๆ เช่น รั้ว เสาไฟฟ้า เป็นต้น โดยในส่วนนี้ผู้ประกันจำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) ทุกครั้งก่อนการซ่อมแซม

เคลมสดทำยังไงต้องทำอะไรบ้าง

  1. โทรแจ้งศูนย์ประกันเพื่อแจ้งอุบัติเหตุเพื่อให้เจ้าหน้าที่ประกันเดินทางมาตรวจสอบ โดยเตรียมข้อมูล หมายเลขกรมธรรม์ ชื่อ-นามสกุล ทะเบียนรถ ยี่ห้อรถ ตำแหน่ง และเล่าเหตุการณ์ บริเวณที่เสียหายบนตัวรถ
  2. ระหว่างรอเจ้าหน้าที่ประกันให้เตรียมเอกสาร ใบขับขี่ บัตรประชาชน กรมธรรม์ และสำเนาทะเบียนรถ
  3. หลังจากเจ้าหน้าที่ประกัน เข้าเจรจา ตรวจสอบความเสียหายเรียบร้อยแล้วจะออกใบประเมินความเสียหาย ให้ผู้ขับขี่ โดยใบประเมินนี้ให้นำไปยื่นให้กับอู่ในเครือ โดยสามารถสอบถามเพื่อเช็คบริเวณที่ผู้ขับขี่สะดวกนำเข้าซ่อมได้
  4. ติดต่ออู่เพื่อขอคิวและทำเรื่องประเมินราคาค่าซ่อม เพื่ออู่จะได้ติดต่อกับบริษัทประกันและทำเรื่องเบิกอะไหล่ในส่วนที่จำเป็น 

การเคลมแห้ง

เคลมแห้ง คือ การแจ้งประกันเข้าซ่อมหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุไปแล้วไม่เกิน 3 วัน ส่วนใหญ่จะเป็นการแจ้งซ่อมในอุบัติเหตุเล็กๆ เฉี่ยว หรือเกิดรอยกับรถโดยไม่ทราบสาเหตุ

ในส่วนนี้หากทำประกันชั้น 1 จะสามารถแจ้งเคลมรอบคันได้ โดยทางอู่จะตรวจสอบรอบคันว่ามีบริเวณไหนเสียหายและจะทำการแจ้งเจ้าของรถเพื่อซ่อมทั้งหมดในครั้งเดียว

เคลมแห้งยังไงยุ่งยากไหม

การเคลมแห้งก็ไม่ยุ่งยากเลย เพียงแค่เตรียมรูปถ่าย เวลา สถานที่ ที่คาดว่าทำให้รถได้รับความเสียหายแล้วโทรแจ้งไปยังประกันที่เราทำไว้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบและประเมินความเสียหาย

หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ประกันก็จะออกใบประเมินเพื่อให้เรานำใบนี้ไปยื่นแจ้งกับอู่ในเครือนั่นเอง โดยในส่วนนี้อาจมีค่าใช้จ่ายส่วนแรก (Excess) ขึ้นอยู่กับตกลงกับประกันที่เราทำไว้ โดยเจ้าหน้าที่ประกันจะเป็นผู้แจ้งข้อมูลแก่เรา หรือสอบถามได้กับเจ้าหน้าที่ประกันได้เลย 

ทำประกันแล้วแต่ไม่ได้รับการคุ้มครองเพราะอะไร

  1. ใช้รถผิดวัตถุประสงค์ เช่น ทำเรื่องผิดกฎหมาย ปล่อยให้ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเช่าช่วงต่อ นำไปทำรถลากจูง
  2. มีการดัดแปลงสภาพรถทำให้เกิดความเสียหายและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
  3. อยู่ในสภาวะเมาสุรา หรือมีปริมาณแอลฮอลล์มากกว่า 50 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นความผิดอาญา
  4. ขับขี่นอกพื้นที่คุ้มครอง เช่นขับรถไปประเทศเพื่อนบ้าน ในส่วนนี้หากจำเป็นต้องนำรถไปใช้งาน ควรแจ้งและสอบถามข้อมูลความคุ้มครองแก่บริษัทที่ท่านได้ทำประกันไว้เสียก่อน
  5. ใช้รถในพื้นที่เสี่ยง เช่น สงคราม การปฏิวัติ ต่างๆ เป็นต้น

เห็นไหมว่าการนำรถเข้าซ่อมหรือเคลมประกันนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายและไม่ยุ่งยากเลย เพียงเท่านี้คุณก็สามารถนำรถเข้าซ่อมได้โดยไม่ต้องห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายบานปลายแล้วล่ะ ถ้าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืมแชร์กันนะครับ

คุยกับเรา